ทำความรู้จัก 2 วิธีการตรวจคัดกรองไวรัสโควิด 19 (COVID-19)

ทำความรู้จัก 2 วิธีการตรวจคัดกรองไวรัสโควิด 19 (COVID-19)
19 January, 2022

ปัจจุบันการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด 19 (covid-19) สามารถทําได้หลายวิธี เช่น การตรวจแบบ Rapid Antigen Test ที่เน้นความสะดวกรวดเร็ว ราคาไม่แพง หรือการตรวจแบบ RT-PCR ท่ีให้ผลได้แม่นยํากว่า แต่ต้องรอผลตรวจนานมากขึ้น และการตรวจด้วยตัวเอง โดยใช้ชุดตรวจโควิด หรือ ชุดตรวจ ATK

การตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด 19 (covid-19) ด้วยวิธี Rapid Antigen Test คืออะไร?

เป็นการ Swab (เก็บตัวอย่างเชื้อบริเวณลําคอ และหลังโพรงจมูก) ตรวจทดสอบเพื่อหาเชื้อเบื้องต้น สามารถตรวจได้สะดวกและทราบผลได้รวดเร็ว ผู้ตรวจสามารถรอผลตรวจได้ภายใน 2-3 ชั่วโมง (ระยะเวลาอาจเพิ่มข้ึนตามจํานวนผู้ใช้บริการตามสถานพยาบาลนั้นๆ) การตรวจแบบ Rapid Antigen Test เพื่อให้ผู้ติดเชื้อรู้ตัวและเข้าสู่กระบวนการกักตัวเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ หากสงสัย หรือมีความเสี่ยง แต่อาการโควิด 19 (covid-19) หรือ อาการโอไมครอน (omicron) แสดงออกมาไม่ชัดเจน ก็สามารถใช้วิธีนี้ในการตรวจได้

การตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด 19 (covid-19) ด้วยวิธี RT-PCR คืออะไร?

การตรวจ RT-PCR (Polymerase chain reaction) เป็นการ Swab เก็บตัวอย่างเชื้อบริเวณลําคอ และหลังโพรงจมูก (เช่นเดียวกันกับตรวจ Antigen) แต่จะทราบผลใน 2-3 วัน เนื่องจากต้องมีการวัดผลผ่านห้องปฏิบัติการ ถือเป็นการตรวจที่มีความถูกต้องแม่นยํามากกว่า แต่จะใช้เวลาในการวินิจฉัยตัวอย่างเชื้อนานกว่า และเป็นการตรวจที่แนะนําจาก WHO เนื่องจากสามารถตรวจหาเชื้อในปริมาณน้อยได้

การตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด 19 (covid-19) ด้วยตัวเองโดยการใช้ชุดตรวจโควิด หรือ ชุดตรวจ ATK คืออะไร?

Antigen test kit หรือ ATK คือชุดตรวจการติดเชื้อโควิด 19 (covid-19) ที่สามารถทดสอบได้ในเบื้องต้น เหมาะกับผู้ที่สงสัยหรือไม่แสดงอาการติดเชื้อ การทดสอบใช้เวลาไม่นานรอผลเพียง 15-30 นาที ชุดตรวจ Antigen test kit (ATK) สามารถใช้งานแบบ Home use ตรวจได้ด้วยตนเองทําให้รู้ผลเร็ว ก่อนใช้งานควรศึกษาวิธีการใช้งานตามคู่มือของแต่ละยี่ห้อ และระมัดระวังการปนเปื้อนระหว่างทําการตรวจ เพราะจะทําให้ได้ผลลัพธ์ที่ผิดพลาดได้

ปัจจุบันมีการพัฒนาชุดตรวจโควิด หรือ ชุดตรวจ ATK เพื่อให้รับมือกับสายพันธุ์โอไมครอน (omicron) โดยมีชุดตรวจที่สามารถตรวจสายพันธุ์โอไมครอน (omicron) ได้ เพื่อช่วยลดปัญหาการแพร่กระจายของไวรัส เนื่องจากอาการโควิด 19 (covid-19) หรือ อาการโอไมครอน (omicron) มีความไม่ชัดเจน สังเกตได้ยาก จนอาจนําไปสู่การแพร่กระจายเป็นวงกว้าง

Add Comment

คุณต้อง เข้าสู่ระบบ จึงจะสามารถแสดงความคิดเห็นได้ ถ้าคุณยังไม่มีบัญชีผู้ใช้ สามารถลงทะเบียนได้ ที่นี่