โรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Vaginosis)

โรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Vaginosis)
9 March, 2020

โรคช่องคลอดอักแสบจากเชื้อแบคทีเรีย หรือ Bacterial Vaginosis เป็นภาวะที่เกิดจากเชื้อประจำถิ่น หรือ Normal Flora ที่อาศัยอยู่ในช่องคลอด (Vagina) เสียสมดุลจากการถูกแทนที่ด้วยแบคทีเรียชนิดอื่นที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ ซึ่งชนิดของเชื้อที่พบมากที่สุด คือ Gardnerella vaginalis ส่งผลให้ช่องคลอดเกิดการอักเสบ (Vaginitis), เกิดตกขาวที่ผิดปกติ (Pathologic vaginal discharge) และอาการผิดปกติต่าง ๆ บริเวณจุดซ่อนเร้น (Intimate area) ตามมา

สาเหตุ
แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ซึ่งเป็นเเบคทีเรียประจำถิ่นในช่องคลอดเกิดการเสียสมดุล ถูกเเบคทีเรียหลาย ๆ ชนิดที่สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีอากาศ (Anaerobe) เช่น Gardnerella vaginalis, Mycoplasma hominis, Prevotella species, Porphyromonas species หรือ Bacteroides species มาเเทนที่ (Replacing) เเละอาจเกี่ยวข้องกับสภาวะความเป็นกรดภายในช่องคลอดถูกทำลายด้วยด่าง (Alkalinization) จากการใช้ชีวิตในเเต่ละวัน เช่น การมีเพศสัมพันธ์ (Sexual Intercourse) หรือ สวนล้างช่องคลอด (Vaginal douching) ด้วยน้ำเปล่าหรือสบู่ เป็นต้น

อาการ
สำหรับสตรีที่มีการติดเชื้อ ร้อยละ 50-75 มักไม่พบอาการ หากมากกว่าปริมาณที่กล่าวมา จะพบว่าตกขาวที่หลั่งออกมาเป็น ตกขาวสีขาวเทา (Grayish-white discharge), มีกลิ่นอับ (Musty) และ กลิ่นคาวปลา (Fishy) หลังการมีเพศสัมพันธ์ หรือในบางรายอาจมีตกขาวเป็นฟอง (Frothy) ร่วมกับอาการคัน (Itchy) ส่วนอาการเเสบขัดเมื่อปัสสาวะ, รู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ เเละเเสบบริเวณช่องคลอดอาจพบได้บ้าง ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและปริมาณของเชื้อ

สำหรับผู้ที่เป็นโรคช่องคลอดอักแสบจากเชื้อแบคทีเรีย หากปล่อยไว้หรือไม่รีบทำการรักษาอาจก่อให้เกิดผลเสียในระยะยาว เนื่องจากเชื้อจะเข้าไปทำลายอวัยวะต่าง ๆ ที่อยู่ภายในระบบสืบพันธุ์ (Reproductive system) เเละทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานระบบภูมิคุ้มกัน (Immune system) ของผู้ติดเชื้อต่ำลงเรื่อย ๆ

ผลระยะยาวของโรค

  1. เสี่ยงต่อโรคภาวะอักเสบในอุ้งเชิงกราน (Pelvic Inflammatory Disease/ PID)
  2. เสี่ยงต่อการติดเชื้อของรอยเย็บหลังผ่าตัดมดลูก (Postoperative Cuff Infection)
  3. เสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของเซลล์ (Abnormal Cytology)
  4. ถ้าตั้งครรภ์เสี่ยงต่อ ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์ (Preterm Premature Rupture of Membranes/ Preterm PROM), เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด (Preterm labor) และ ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ (Chorioamnionitis) เป็นต้น

วิธีการรักษา
สำหรับโรคช่องคลอดอักแสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Vaginosis) ส่วนใหญ่แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic) ในการรักษา มีทั้งหมด 3 แบบ ได้แก่ แบบกิน, แบบทา เเละ แบบสอด

ยาฆ่าเชื้อแบบรับประทาน (Oral) เช่น

  • เมโทรนิดาโซล (Metronidazole) เป็นยาที่ส่งผลต่อแบคทีเรียชนิด Anaerobe แต่ไม่มีผลต่อ Lactobacillus โดยเเนะนำให้งดการดื่มเเอลกอฮอล์ระหว่างรักษา เเละหลังการรักษา เพราะตัวยาจะเข้าไปยับยั้ง การสลายเอทานอล (Ethanol metabolism) ซึ่งจะทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้, อาเจียน, การรับรสเปลี่ยนเเเปลง (Metallic taste), ปวดศีรษะ เเละปัสสาวะมีสีเข้ม
  • คลินดามัยซิน (Clindamycin) เป็นยาที่จะเข้าไปยับยั้งการเจริญเติบโตของเเบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค เเต่มีผลข้างเคียง คือ อาจทำให้เกิดอาการท้องเสียอย่างรุนเเรงเนื่องจาก ตัวยาจะทำให้เชื้อแบคทีเรียชนิด Clostridium difficile ในลำไส้เจริญเติบโตได้มากกว่าปกติ
  • ยา Amoxicillin ร่วมกับ Clavulanic acid จะออกฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อเเบคทีเรีย เเต่มีข้อเสียคือไม่ได้ฆ่าเฉพาะเเบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคเเต่รวมไปถึงฆ่า Lactobacillus ที่เป็นเเบคทีเรียประจำถิ่นให้ตายด้วย

ยาฆ่าเชื้อเเบบทาลงบนผิวหนัง (Topical therapy) ปัจจุบันเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นเพราะไม่มีผลข้างเคียง เเต่ผลการรักษายังคงให้ประสิทธิภาพไม่มากเท่าวิธีการรักษาเเบบที่มีการซึมเข้าสู่กระเเสเลือดหรือการรักษาเฉพาะจุด ยาที่ใช้ทาได้เเก่

  • Metronidazole gel, 0.75 %
  • Clindamycin cream, 2 %
  • Ampicillin, Tetracycline หรือ Sulfa cream เเต่ยังให้ผลไม่ดีเท่าที่ควร เป็นต้น

ยาฆ่าเชื้อเเบบสอด (Suppository) เป็นวิธีที่ใช้เพื่อการรักษาเฉพาะจุด เช่น Metronidazole ขนาด 500 มิลลิกรัม เป็นต้น

เห็นแล้วใช่ไหมคะว่า โรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Vaginosis) นั้นอันตรายมากแค่ไหน อีกทั้งยังส่งผลเสียร้ายแรงได้ในระยะยาว และการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาก็อาจเป็นฆ่า Lactobacillus ซึ่งเป็นเเบคทีเรียดี หรือประจำถิ่นของช่องคลอดให้ตายไปด้วยเช่นกัน ดังนั้นทางที่ดี เราควรใส่ใจสุขอนามัยของช่องคลอด และดูแลด้วยวิธีที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้กันดีกว่านะคะ  

หากต้องการคำแนะนำในการดูแลสุขอนามัยของช่องคลอดอย่างถูกวิธี สามารถฝากข้อความเพื่อปรึกษากับแพทย์ผิวหนังของเราผ่าน ผ่าน Line : @JilGyungYi Thailand, Facebook : JilGyungYi Thailand หรือโทรเข้ามาที่เบอร์: 02-621-8991 ได้ค่ะ

Add Comment

คุณต้อง เข้าสู่ระบบ จึงจะสามารถแสดงความคิดเห็นได้ ถ้าคุณยังไม่มีบัญชีผู้ใช้ สามารถลงทะเบียนได้ ที่นี่